^Back To Top

foto1 foto2 foto3 foto4 foto5

Vinaora Visitors Counter

186650
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
21
110
21
185869
2710
5200
186650

Your IP: 172.70.116.142
Server Time: 2023-09-24 01:08:35

 

กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โทร 0 3261 1437 ต่อ 414

สรุปสถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ประจำสัปดาห์ที่ 6 ณ.วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2561 ถึง 13 ก.พ.2561 พบผู้ป่วย 2,216 ราย อัตราป่วย 3.37 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยน้อยกว่าปี 2560 ณ.ช่วงเวลาเดียวกัน ร้อยละ 68.23 เสียชีวิต 7 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.32 จังหวัดที่มีอัตราป่วยสะสมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ภูเก็ต อัตราป่วย 19.98 (78 ราย) สมุทรสาคร 16.51 (91 ราย)          และนครปฐม 15.30 (138 ราย) ต่อแสนประชากร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์อยู่ลำดับที่ 12 ของประเทศ อยู่ลำดับที่ 5 ของเขตบริการสุขภาพที่ 5

พบผู้ป่วยในเดือน ม.ค. 30 ราย และเดือน ก.พ. 9 ราย ต่ำกว่าค่ามัธยฐานและปีที่ผ่านมา    (รูปที่ 1) แนวโน้มการระบาดเพิ่มสูงขึ้น

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2561 ถึงวันที่ 16 ก.พ.2561 พบผู้ป่วย 39 ราย    อัตราป่วย 7.23 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต

 
รูปที่ 1 จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกปี 61 เปรียบเทียบ ปี 60 และ ค่ามัธยฐาน 55-59 จ.ประจวบคีรีขันธ์

พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในกลุ่มอายุ 10-14ปี มากที่สุด อัตราป่วย 23.41 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 0-4 ปี, กลุ่มอายุ 25-34 ปี, กลุ่มอายุ 5-9 ปี, กลุ่มอายุ 15-24 ปี, กลุ่มอายุ 35-44 ปี และกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป อัตราป่วยเท่ากับ 15.84, 9.96, 8.86, 7.76, 7.00 และ 5.51 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ

อำเภอที่มีอัตราป่วยสะสมสูงสุด   คือ อำเภอปราณบุรี อัตราป่วย 11.67        ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ อำเภอ       ทับสะแก, อำเภอเมือง, อำเภอหัวหิน, อำเภอ   กุยบุรี, อำเภอสามร้อยยอด, อำเภอ         บางสะพาน และอำเภอบางสะพานน้อย อัตราป่วยเท่ากับ 10.05 , 9.89 , 8.88 , 4.47, 4.11 , 2.63 และ0.00 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (รูปที่ 2)

รูปที่ 2อัตราป่วยไข้เลือดออกสะสมรายอำเภอ ปี 2561 จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ 1 ม.ค.-16 ก.พ.61

จำนวนผู้ป่วย/ตาย โรคไข้เลือดออก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปี พ.ศ.2561 (ข้อมูลถึง 16 ก.พ. 61)

อำเภอ ม.ค ก.พ มี.ค เม.ย พ.ค มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย ต.ค พ.ย. ธ.ค รวม
เมือง 6 3                     9
กุยบุรี 1 1                     2
ทับสะแก 3 2                     5
บางสะพาน 2 0                     2
บางสะพานน้อย 0 0                     0
ปราณบุรี 8 1                     9
หัวหิน 8 2                     10
สามร้อยยอด 2 0                     2
รวม 30 9                     39

ที่มา : รายงาน 506 จากสถานบริการสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

แนวโน้มการระบาดของโรคไข้เลือดออกจำแนก รายตำบล

จ.ประจวบคีรีขันธ์สัปดาห์ที่ 6

ตำบลที่ต้องเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกเป็นพิเศษ (พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในช่วง 1-2 อาทิตย์ที่ผ่านมา) ได้แก่ ต.หัวหิน, ต.หนองแก, ต.กุยเหนือ, ต.บ่อนอก, ต.เกาะหลัก,        ต.คลองวาฬ, ต.อ่างทอง

ปีนี้แนวโน้มผู้ป่วยไข้เลือดออกอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขอความร่วมมือประชาชนทุกหลังคาเรือน และผู้บริหารโรงเรียนต่างๆ ศูนย์เด็กเล็กช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้าน ในโรงเรียน ทุก 7 วัน ตามมาตรการในการควบคุมป้องกันโรค ให้ประชาชนใช้มาตรการ 3 เก็บ ได้แก่ 1. เก็บบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ปลอดโปร่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง 2. เก็บขยะ เศษภาชนะ รอบๆ บ้าน ทั้งใบไม้ กล่องโฟม จานรองกระถางต้นไม้ ต้องเก็บกวาด ฝัง เผา หรือทำลาย และ 3. เก็บน้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิดป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ ดำเนินการไปพร้อมๆการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และการป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด ทั้งการทายากันยุง กำจัดยุงโดยใช้ไม้ช็อตไฟฟ้า จุดสมุนไพรหรือยาจุดไล่ยุง หรือวิธีป้องกันยุงโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น

สัญญาณอันตรายของไข้เลือดออก อาการส่วนใหญ่มักจะมีไข้สูง ไข้ไม่ลด ปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา อาจมีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้องร่วมด้วย ต้องสังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ขณะนี้ยังไม่มียารักษาเฉพาะ รักษาตามอาการ ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อยๆ เช็ดตัวช่วยลดไข้เป็นระยะๆ ให้กินอาหารอ่อน กินยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น ห้ามกินยาแอสไพรินหรือไอบรูโปรเฟน เพราะเสี่ยงเกิดเลือดออกในกระเพาะอาหาร และติดตามเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด ประคับประคองให้ผู้ป่วยผ่านระยะช็อกหลังไข้ลด ซึ่งเป็นระยะวิกฤตของโรค หากผู้ป่วยฟื้นไข้สดชื่นขึ้นแสดงว่าจะหายเป็นปกติ แต่หากเข้าสู่ภาวะช็อก อาจมีอาการต่อไปนี้ เช่น ซึม อ่อนเพลีย กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบา เร็ว ปวดท้องกะทันหัน กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อยลง มีเลือดกําเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นสีดำ ให้ผู้ป่วยรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันการเสียชีวิต

สำหรับวิธีป้องกันโรคที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยขอให้ระวังยุงลายที่ชอบอาศัยอยู่ในบ้าน ตามกองเสื้อผ้า ผ้าม่าน หรือในมุมมืดมุมอับในบ้าน ขอให้จัดบ้านบริเวณรอบบ้านให้โล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ไม่อยู่ในบริเวณที่อับลมหรือมุมมืด มีแสงสว่างน้อย นอนกางมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวด หมั่นอาบน้ำให้ร่างกายสะอาด เพราะกลิ่นเหงื่อไคลจะดึงดูดยุงให้เข้ากัดมากขึ้น และใช้ยาทากันยุง ผลิตภัณฑ์ตะไคร้หอมกันยุงซึ่งปลอดภัย ไม่มีสารเคมี

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง

กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โทร 0 3261 1437 ต่อ 414 โทรสาร 0 32611 053 ต่อ 202